วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

แมลงตัวเบียน (Parasitic Insects หรือ Parasitoids)

แมลงตัวเบียน เป็นแมลงที่มีช่วงระยะตัวอ่อน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาศัยและหากินอยู่ภาย นอกหรือภายในตัวเหยื่อ เพื่อ การเจริญเติบโตอยู่จนครบวงจรชีวิตของพวกมัน ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด 



แมลงตัว เบียนตัวเมียตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่บนหรือใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปใน ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ หรือตัวเหยื่อที่โตเต็มวัย ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเบียนนั้นๆ  หลังจากนั้นเมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน เช่น เป็นตัวหนอน ซึ่งจะใช้ร่างกายของเหยื่อเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารไปพร้อมกัน แต่เมื่อเติบโตเป็นตัวเต็มวัยแล้ว อาหารของตัวเต็มวัยมักจะแตกต่างกับอาหารของตัวอ่อน เช่น น้ำหวานจากดอกไม้  เหยื่อของแมลงตัวเบียน มีทั้งที่เป็นแมลงด้วยกันเอง หรือ สัตว์ชนิดอื่นๆ  ตัว เบียนมีความสำคัญในการควบคุมปริมาณศัตรูพืชเป็นโดยธรรมชาติ   เราอาจแบ่ง แมลงตัวเบียนโดยอาศัยระยะต่างๆของแมลงที่เป็นเหยื่อ ได้ดังนี้

แมลงเบียนไข่ หมาย ถึง แมลงเบียนที่อาศัยหากินภายในไข่ของแมลงที่เป็นเหยื่อ และเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่นั้น
แมลงเบียนหนอน หรือแมลงเบียนตัวอ่อน ซึ่งตัวเต็มวัยตัวเมียของแมลงเบียนจะวางไข่ไว้บนหรือในตัวหนอน แมลงตัวเบียน จะเข้าสู่ระยะดักแด้ ในขณะที่ตัวเหยื่อตายก่อนเข้าระยะดักแด้
แมลงเบียนดักแด้ เป็นพวกที่อาศัยและหากินในตัวเหยื่อระยะดักแด้
แมลงเบียนตัวเต็มวัย เป็นแมลงตัวเบียนที่ออก ไข่ และตัวอ่อนอาศัยแมลงที่เป็นเหยื่อในระยะตัวเต็มวัย
แมลงเบียน หนอนดักแด้ จะอาศัยหากินอยู่กับตัวอ่อนของเหยื่อ และจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิตเข้าระยะดักแด้ไปพร้อมกับเหยื่อ และแมลงตัวเบียน เมื่อเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็จะออกจากดักแด้ของตัวเหยื่อโดยที่เหยื่อจะตายไป




 


 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น