วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

แมลงสามง่าม



ชื่อ สามัญ: Silverfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepisma saccharina
Order: Thysanura
Class: Insecta

รูปร่างลักษณะ: เป็นแมลงไม่มีปีก ลำตัวแบนรูปไข่ยาว 10-15 มม. ปกคลุมด้วยขนเล็กๆ (scale) มีสีเงินเทา มีจุดดำเล็กๆ ตามลำตัว หนวดยาว มีแพนหาง (cerci) 3 เส้น แมลงสามง่ามเป็นแมลงที่ออกหากินกลางคืน มักพบตามกองหนังสือ กระดาษ และเสื้อผ้า วิ่ง-เดิน ได้รวดเร็ว ตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ ตามรอยแตก สามารถวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง วงจรชีวิตประมาณ 3-24 เดือน หรือมากกว่า อาจมีชีวิตยาวนานถึง 4 ปี

อาหาร : อาหารจำพวกแป้ง ผ้าชนิดต่างๆ หรือวัสดุที่ทำจากผ้า หนังสือ

วิธีการป้องกันกำจัด
1. ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่างๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
2. ซ่อมแซมรอยแตกร้าวของผนังอาคาร เพื่อป้องกันการเข้ามาอาศัยของแมลง
3. ทำการ Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
4. ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
5. ใช้ pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลงจำพวกมอดแป้ง และมอดยาสูบ

ด้วง หรือ แมลงปีกแข็ง

    ด้วงเป็นแมลงปีกแข็ง จัดอยู่ในลำดับ โคลีออพเตร่า ซึ่งเป็นลำดับที่ใหญ่ที่สุดของสัตว์จำพวกแมลง ชาวบ้านเรียกว่า "ไอ้รถถัง" เพราะมีโครงตัว ซึ่งก็คือปีกนั่งเอง มีสีดำ น้ำตาล มีความหนาและแข็งแรงราวกับรถถังหุ้มเกราะ ปีกใหญ่แข็งแรงมาก เวลาบินจะกระพือปีกช้าๆ ขยับปีกแรงๆ จนเราได้ยินเสียงหึ่งๆ ด้วงบินเป็นเส้นตรง บางครั้งจะบินชนสิ่งต่างที่ขวางหน้าอยู่ แล้วตกลงพื้นนอนหงายท้อง ขาทั้ง 6 ไข่วคคว้าไปมาอยู่ในอากาศ แต่ไมาสามารถที่จะคว่ำเองได้หากไม่มีอะไรยันหรือเกาะ
    ด้วงบางชนิดมีเขาโง้งออกมาราวกับปืนกล บางชนิดปีกมีลายกระ ปีกเป็งเงาวับเมื่อต้องแสงสว่าง ขาใช้ว่ายน้ำ ขุดดินหรือกระโดดได้ บางชนิดรูปร่างน่าเกลียด บางชนิดมีสีสรรสวยงาม มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของมัน
     ด้วงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกินพืช กลุ่มกินเนื้อสัตว์ และกลุ่มกินมูลสัตว์ซากสัตว์  กลุ่มกินพืช



ตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ด้วงกินพืชเป็นอาหาร ด้วงเป็นแมลงที่กินจุมาก ด้วงกลุ่มนี้ได้แก่ ด้วงหนวดยาว ด้วงเต่า ด้วงงวง ด้วงใน เป็นต้น
ด้วงกินพืช ตัวอ่อนเจริญเติบโตตามต้นไม้ กินใบไม้ ก้านไม้ และรากไม้ ตัวอ่อนบางชนิดฝังตัวอยู่ในต้นพืช ตัวเต็มวัยกินเปลือกไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ด้วงประเภทนี้มีอยู่ราว 20,000 ชนิด ขนาดและสีแตกต่างกันไป พบมากแถบศูนย์สูตร เพราะเป็นแถบที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ อินเดีย เกาหลี และจีน ในเมืองไทยเราก็พบเห็นได้
 
ด้วงกินพืชที่ทำความเสียหายให้แก่พืชผล ได้แก่ ด้วงในตระกูลมอด จะทำความเสียหายแก่เมล็ดข้าว มีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน จัดอยู่ในตระกูล เทเนบริโอบิเต ได้แก่ มอดแป้ง ทริโบเลียม ซึ่งจะพบในแป้งละเอียด และมอดแป้ง เทเนบริโอ ตัวอ่อนจะกินเมล็ดข้าวเป็นอาหาร
กลุ่มกินเนื้อสัตว์
ด้วงกลุ่มนี้กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มีอยู่หลายชนิด บางชนิดมีคุณต่อชาวสวน เพราะช่วยกำจัดแมลงศัครูพืช เช่น ด้วงดิน หิ่งห้อย ด้วงเต่าทอง บางชนิดเป็นศัตรูพืชเสียเอง ดดยจะกัดแทะใบพืชเป็นอาหาร
ด้วงดิน เป็นแมลงที่ว่องไว ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยกินแมลงเป็นอาหาร รูปร่างใหญ่ อาศัยอยู่ในดิน เป็นนักล่าบนพื้นดิน
หิ่งห้อย ขณะเป็นตัวอ่อนจะเรืองแสงได้ ตัวเต็มวัยชอบกินหอยทาก อายุไม่ยืนนัก หิ่งห้อยแต่ละชนิดจะเรืองแสงมากน้อยต่างกัน แสงสว่างที่เห็นเกิดจากการเปลี่ยนพลังงานเคมีในตัวมันไปเป็นพลังงานแสง
 
ด้วงเต่าทอง มีสีฉูดฉาด มีสีลายกระ บางชนิดเป็นประโยชน์ ช่วยทำลายศัตรูพืช จะกินพวกเพลี้ยต่างๆ ปลวก ด้วงเต่าทองออกไข่เป็นกองบนต้นไม้คราวละ 15-50 ฟองต่อวัน ตัวอ่อนฟักออกจากไข่ภายใน 4 วัน และหลังจากนั้นจะลอกคราบเป็นระยะๆ ระยะเวลาจากไข่เป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลา 30 วัน
กลุ่มกินมูลสัตว์ซากสัตว์

อาหารของด้วงกลุ่มนี้จะเป็นพวก มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย แต่ตัวมันเองไม่เป็นพาหนะนำเชื้อโรคเหมือนแมลงวัน ด้วงกลุ่มนี้จะเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะจะเก็บกินสิ่งสกปรกทั้งปวง ด้วงกลุ่มนี้ได้แก่ ด้วงก้นกระดก  เป็นต้น
 

แมลงหวี่

แมลงหวี่  (Drosophila sp.)

Class : Insecta
Order : Diptera
Family : Drosophilidae

ลักษณะทั่วไปของแมลงหวี่



เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมีปีกคู่หน้าเด่นชัดสำหรับบิน ปีกคู่ที่สองลดขนาดลงจนเป็นตุ่ม เล็กๆ ทำหน้าที่ในการทรงตัว บนปีกมีขนคล้ายผีเสื้อกลางคืน ไม่มีเส้นขวางปีก ยกเว้นโคน ปีก ลักษณะปีกเป็นแผ่นบาง ตัวเมียวางไข่ในอาหาร ตัวอ่อนกินยีสต์ที่เจริญในผลไม้ โดย ทั่วไปปากของแมลงหวี่จะเป็นปากชนิดดูดกินและเลีย
ไข่ (egg) มีลักษณะเป็นสีขาวยาวประมาณ 0.5 mm. ด้านหลังแบนกว่าด้านท้องที่ ผิวเปลือกมีลักษณะเป็นรอยปกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้งต่อกัน ด้านหัวมีหนวด (filament) คู่หนึ่ง สำหรับพยุงไข่ไม่ให้จมลงในอาหารเหลว


ตัวหนอน (larva) หลังจากฟักออกจากไข่ ตัวหนอนจะลอกคราบ 2 ครั้ง ตัวหนอนที่ โตเต็มที่จะยาวประมาณ 4.5 mm. ระยะนี้ตัวหนอนจะกินอาหารจุมาก ลักษณะตัวหนอนจะ ใสเมื่อส่องด้วยกล้องจะมองเห็นสมอง (ganglion) ซึ่งอยู่ตอนบนด้านหัวและต่ำลงมาจะเป็น ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ส่วนต่อมสร้างเชื้อสืบพันธุ์ (gonads) จะอยู่ค่อนไปทางด้าน ท้ายของลำตัว ถ้าเป็นอัณฑะ (testis) จะมีขนาดใหญ่กว่ารังไข่ (Ovary) ซึ่งอาจจะใช้เป็น เครื่องแยกเพศแมลงหวี่ตั้งแต่ยังเป็นตัวหนอนได้


ดักแด้ (pupa) หนอนที่แก่เต็มที่จะคลานขึ้นไปหาที่แห้ง ๆ เพื่อเข้าดักแก้ สีของดักแด้ ระยะแรกมีสีจางจะค่อยเข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล เมื่อเป็นสภาพตัวแก่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็จะทำลายผนังดักแด้ออกมา แมลงหวี่ที่ออกจากดักแด้ใหม่ ๆ จะมีสีซีด ลำตัวยาวและปีกยัง ไม่กาง ในระยะเพียงไม่กี่ชั่วโมงปีกจะกางออก ลำตัวหดสั้นเป็นปกติสีจะเข็มขึ้น

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

แมลงบั่ว (rice gall midge, RGM)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Orseolia oryzae (Wood-Mason)
วงศ์ Cecidomyiidae
อันดับ Diptera
ชื่อสามัญอื่น 



 ตัวเต็มวัยของแมลงบั่ว มีลักษณะคล้ายยุงแต่ลำตัวมีสีส้มยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตรหนวด และขามีสีดำ เวลากลางวันตัวเต็มวัยจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าว บริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวเมียวางไข่ใต้ใบข้าวเป็นส่วนใหญ่ในตอนกลางคืนโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอม สีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 0.45 มิลลิเมตร กว้าง 0.09มิลลิเมตร ระยะไข่ประมาณ 3-4 วัน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไปอาศัยกัดกินที่จุดกำเนิดของหน่ออ่อน (growing point) หนอนมี 3 ระยะ ระยะหนอนนาน 11 วัน ขณะที่หนอนอาศัยกัดกินหน่ออ่อนนั้น ต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนไว้ ทำให้ข้าวแสดงอาการ ที่เรียกว่า “หลอดบั่ว หรือ หลอดธูป” หนอนก็เจริญและเข้าดักแด้ภายในหลอดข้าวนั้น โดยระหว่างที่หนอนโตขึ้นหลอดก็จะมีขนาดใหญ่และยืดออก และเมื่อหนอนเข้าดักแด้ หลอดนั้นก็จะยืดโผล่พ้นกาบใบข้าวจนมองเห็นจากภายนอกได้ ระยะดักแด้นาน 6 วัน เมื่อดักแด้ใกล้จะฟักออกเป็นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ส่วนปลายของหลอด ข้าวนั้น และเจาะออกเป็นตัวเต็มวัยที่ปลายหลอดนั่นเอง พร้อมทั้งทิ้งคราบดักแด้ไว้ที่รอยเปิดนั้น ระยะตัวเต็มวัยนาน 2-3 วันฤดูหนึ่งบั่ว สามารถขยายพันธุ์ได้ 6-7 ชั่วอายุๆที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นชั่วอายุที่สามารถทำความเสียหายให้ข้าวได้มากที่สุด


ลักษณะการทำลายและการระบาด

        แมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในภาคเหนือตอนบน เช่นที่ จังหวัดตาก แพร่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ซึ่งพบระบาดรุนแรงในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม และสกลนครเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว กล่าวคือ มีความชื้นสูง มีพื้นที่เป็นเขาหรือเชิงเขาล้อมรอบ ทั้งนี้เพราะความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางไข่ จำนวนไข่ การฟักไข่ การอยู่รอดหลังจากฟักจากไข่ของหนอนและการเข้าทำลายยอดข้าวอ่อนเหตุที่สภาพ ภูมิอากาศเป็นตัวกำหนดการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว จึงทำให้ในภาคกลางแมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีความสำคัญน้อย โดยพบบางปี ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี และปทุมธานี ภาคตะวันออกที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ภาคใต้ที่จังหวัด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี





         ตัวเต็มวัยแมลงบั่วจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า หรือช่วงระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัวหนอนจะคลานลงสู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้า ทำลายยอดที่กำลังเจริญทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอก (primodia) แล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย

         ตัวหนอนเข้าทำลายจุดกำเนิดของหน่อข้าว หน่อข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนมีลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นที่ถูกทำลายจะไม่ออกรวง

ตั๊กแตน (Grasshopper)

ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด
  • ตั๊กแตนมีหนวดที่ค่อนข้างสั้น เกือบส่วนใหญ่หนวดของตั๊กแตนจะสั้นกว่าขนาดตัว และมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่สั้น (ovipositors)[1]
  • ตั๊กแตนสายพันธ์ที่ส่งเสียงได้ง่าย เกิดจากการถูขาที่ซ่อนอยู่กับปีกหรือท้อง หรือการกระพือปีก
อวัยวะรับเสียง (Tympana)[2] จะอยู่ที่ส่วนท้องท่อนแรก
  • ขาที่ซ่อนอยู่ของตั๊กแตนจะยาว และแข็งแรงเป็นพิเศษ เหมาะแก่การกระโดด จริงอยู่ที่ว่ามันมีปีก แต่ว่าปีกก็ซ่อนอยู่ และก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อที่ไม่เหมาะที่จะใช้บิน
  • ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่ว่าตัวผู้ และมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่สั้นกว่าตัวผู้
  • มักจะมีสับสนได้ง่ายระหว่างตั๊กแตนกับจิ้งหรีด ซึ่งจิ้งหรีดจะจัดอยู่ใน sub-order Orthoptera แต่จะมีที่แตกต่างกันหลายอย่าง เช่น จำนวนท่อนของหนวด โครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ รวมไปถึงตำแหน่งของอวับวะรับเสียง และวิธีการส่งเสียง
  • พวกตระกูล Ensiferans ของจิ้งหรีด จะมีหนวดอย่างน้อย 30 ท่อน แต่ตระกูลตั๊กแตนจะมีน้อยกว่า


แมลงตัวเบียน (Parasitic Insects หรือ Parasitoids)

แมลงตัวเบียน เป็นแมลงที่มีช่วงระยะตัวอ่อน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาศัยและหากินอยู่ภาย นอกหรือภายในตัวเหยื่อ เพื่อ การเจริญเติบโตอยู่จนครบวงจรชีวิตของพวกมัน ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด 



แมลงตัว เบียนตัวเมียตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่บนหรือใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปใน ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ หรือตัวเหยื่อที่โตเต็มวัย ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเบียนนั้นๆ  หลังจากนั้นเมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน เช่น เป็นตัวหนอน ซึ่งจะใช้ร่างกายของเหยื่อเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารไปพร้อมกัน แต่เมื่อเติบโตเป็นตัวเต็มวัยแล้ว อาหารของตัวเต็มวัยมักจะแตกต่างกับอาหารของตัวอ่อน เช่น น้ำหวานจากดอกไม้  เหยื่อของแมลงตัวเบียน มีทั้งที่เป็นแมลงด้วยกันเอง หรือ สัตว์ชนิดอื่นๆ  ตัว เบียนมีความสำคัญในการควบคุมปริมาณศัตรูพืชเป็นโดยธรรมชาติ   เราอาจแบ่ง แมลงตัวเบียนโดยอาศัยระยะต่างๆของแมลงที่เป็นเหยื่อ ได้ดังนี้

แมลงเบียนไข่ หมาย ถึง แมลงเบียนที่อาศัยหากินภายในไข่ของแมลงที่เป็นเหยื่อ และเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่นั้น
แมลงเบียนหนอน หรือแมลงเบียนตัวอ่อน ซึ่งตัวเต็มวัยตัวเมียของแมลงเบียนจะวางไข่ไว้บนหรือในตัวหนอน แมลงตัวเบียน จะเข้าสู่ระยะดักแด้ ในขณะที่ตัวเหยื่อตายก่อนเข้าระยะดักแด้
แมลงเบียนดักแด้ เป็นพวกที่อาศัยและหากินในตัวเหยื่อระยะดักแด้
แมลงเบียนตัวเต็มวัย เป็นแมลงตัวเบียนที่ออก ไข่ และตัวอ่อนอาศัยแมลงที่เป็นเหยื่อในระยะตัวเต็มวัย
แมลงเบียน หนอนดักแด้ จะอาศัยหากินอยู่กับตัวอ่อนของเหยื่อ และจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิตเข้าระยะดักแด้ไปพร้อมกับเหยื่อ และแมลงตัวเบียน เมื่อเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็จะออกจากดักแด้ของตัวเหยื่อโดยที่เหยื่อจะตายไป




 


 


 


แมลงหล่า (rice black bug หรือ Malayan black bug)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scotinophara coarctata (Fabricius)
วงค์ Pentatomidae
อันดับ Hemiptera
ชื่อสามัญอื่น : เพลี้ยหล่า กือซืงฆูรอ กูฆอ อีบู

วงจรชีวิตและระยะ ทำลายพืช 
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย


 แมลงหล่าเป็นแมลงอยู่อันดับ Hemiptera วงค์ Pantatomidae เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายโล่ห์ ด้านหัวและอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือดำเป็นมันวาว ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 4-5 มิลลิเมตร เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว เพศเมียวางไข่ประมาณ 200 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่ม จำนวน 20-26 ฟองต่อกลุ่ม เรียงเป็นแถวขนานกัน วางไข่ที่ใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าวใกล้ระดับผิวน้ำ หรือบางครั้งอาจจะวางบนพื้นดิน ไข่มีสีชมพูแกมเขียว ระยะไข่ 4-6 วัน ตัวอ่อนมี 6 ระยะ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลและสีเหลืองกับจุดสีดำ ระยะตัวอ่อน 20-30 วัน ตัวอ่อนมีพฤติกรรมเหมือนตัวเต็มวัย คือหลบซ่อนอยู่ที่โคนต้นข้าวหรือตามรอยแตกของพื้นดินในตอนกลางวันและหากินใน ตอนกลางคืน ตัวเต็มวัยมีอายุนานถึง 214 วัน อยู่ข้ามฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง โดยฟักตัวอยู่ในร่องระแหงดินในที่มีหญ้าขึ้น เมื่อสภาพภูมิอากาศเหมาะสมจะบินเข้าแปลงนา และขยายพันธุ์หลายรุ่น มีการพักตัวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตัวเต็มวัยสามารถอพยพได้ระยะทางไกลๆ
ลักษณะการทำลายและความรุนแรงของการระบาด

      

 ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ ตามข้อของลำต้นข้าวเป็นบริเวณที่แมลงหล่าชอบเพราะเป็นแหล่งที่มีน้ำเลี้ยง มาก การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยวตายได้ ถ้ามีแมลงจำนวนมากทำให้ต้นข้าวแห้งไหม้คล้ายกับถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำลาย แมลงหล่าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต

แมลงทับ

แมลงทับ
 

แมลง ทับไทยที่มีอยู่ 2 พันธุ์ ทั้งพันธุ์ขาเขียวที่มีอยู่มากในภาคกลาง และพันธุ์ขาแดงที่มีมากที่สุดตามป่าเขาในภาคอีสาน ทั้งในเขตเมืองและป่าดงดิบกำลังอยู่ในอันตรายจำนวนลดฮวบอย่างน่ากลัว กลายเป็น สิ่งหาดูได้ยาก เกิดจากพืชอาหารของมันที่มีใบต้นพันชาด ต้นเต็ง ต้นพะยอม ต้นตะแบก ต้นคางคกหรือกางขี้มอด ต้นรัง ต้นแดง ต้นประดู่ ต้นกระบก ต้นมะขามป้อม ต้นมะค่าแต้ และต้นคูนลดจำนวนลงมาก อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากคนจำนวนมากหลงใหลในรสชาติของมัน พากันจับเอาไปกิน ใช้วิธีเอาท่อนไม้ใหญ่ๆฟาดลงไปกลางลำต้นพืชอาหารที่มันเกาะอาศัยอยู่ ก่อให้เกิดการสั่นเขย่าอย่างแรงให้มันร่วงลงมาแล้วจับเอาไปกินในรูปการต่างๆ ตั้งแต่เด็ดปีกเสียบไม้ย่างกิน เอาไปผัดน้ำมันกินหรือเอาไปคั่วกิน ส่วนปีกของมันที่เด็ดออกเอาไปประดับฝาบ้านหรือไม่ก็เอาไปประดับกระติบข้าว

แมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ไม่มีภูมิภาคใดที่มันอยู่ไม่ได้สีสันอันงดงามของมันนั้นอยู่ยั้งยืนยงคง ทนอยู่กว่า 50 ปีจึงจะสลายไป ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย

วงจรชีวิต

ของมันมีแค่ปีเดียว โดยอยู่ใต้ดินนานถึง 11 เดือนตั้งแต่เป็นไข่ เป็นตัวหนอน เป็นดักแด้แล้วจึงโตเต็มวัยกลายเป็นแมลงทับตัวผู้ หรือตัวเมียโบยบินไปในอากาศแล้วอยู่ตามต้นไม้ อาหาร เมื่อออกจากไข่มันกินคอรากส่วนใต้ดินของไผ่เพ็กนั่นเองเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่กลับมีชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสระเสรีได้สั้นมาก อยู่ได้แค่ไม่เกิน 4 สัปดาห์เท่านั้นมันก็ตาย ดีหน่อยก่อนที่มันจะตายมันจะจับคู่สมสู่กันอย่างหนำใจ แล้วตัวผู้ก็ตายไป ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ แล้วก็ตายตามไป.